บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2020

ต้นฝาง

รูปภาพ
ฝาง ชื่อสามัญ Sappan หรือ Sappan tree ฝาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia sappan L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Biancaea sappan (L.) Tod.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE) ต้นฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้น ๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า "ฝางเสน" แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า "ฝางส้ม" พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน ฤทธิ์ทางเภสัชกรรม 1. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดจากแก่นฝาง ที่ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ staphylococcus aureus, shigella flexneri, vibrio cholerae และ parahaemolyticus สารสกัดจากแก่นฝางที่ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัม สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Dysenteriae

ต้นเศรษฐีพันล้าน

รูปภาพ
ต้นเศรษฐีพันล้าน ชื่อวิทยาศาสตร์:    Kalanchoe hybrid วงศ์:    Crassulaceae ประเภท:   ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้น:   ทุกส่วนอวบน้ำ ความสูง:   สูงได้ถึง 60 เซนติเมตร ใบ:   ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 2.5 – 3 เซนติเมตร ยาว 10 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม คนใบสอบ ขอบใบหยักมนมีตาพิเศษที่เกิดเป็นต้นเล็กๆ ตามขอบใบจำนวนมาก แผ่นใบหนา ตั้งขึ้น สีเขียวอมฟ้า ก้านใบสีเขียว เมื่อต้นสมบูรณ์เต็มที่จะผลิช่อดอก ดอก:   ออกเป็นช่อดอกแยกแขนง ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอดชูตั้งขึ้น ดอกย่อยจำนวนมากรูประฆังคว่ำ สีส้มปลายกลีบสีเหลือง อัตราการเจริญเติบโต:   เร็ว ดิน:   ดินทุกประเภท น้ำ:   ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด:   เต็มวัน เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์:   ปักชำใบ โดยแยกต้นเล็กที่เจริญจากขอบใบมาปลูกได้ การใช้งานและอื่นๆ:   เป็นไม้อวบน้ำที่ได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ขยายพันธุ์ง่ายจึงเป็นพืชที่พบได้ทั่วไป เชื่อกันว่า ถ้าปลูกไว้จะร่ำรวย ทำมาค้าขึ้น

ต้นอโศก

รูปภาพ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Polyalthia longifolia เป็นไม้ยืนต้นสูง ในวงศ์ Annonaceae  ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ ต้นโสก หรือ ต้นโศก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและตามขวางของลำต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง ชอบอยู่ริมน้ำ ต้องการความชื้นสูง มีเขตการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน ลาว เวียดนามตอนใต้ คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และชวา ในบ้านเราพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยจะขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 900 เมตร สรรพคุณ ดอกโสกมีรสหอมเปรี้ยว มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ (ดอก) แพทย์พื้นบ้านในอินเดียจะนิยมใช้เปลือกและราก นำมาปรุงเป็นยาบำรุงโลหิต (เปลือกและราก) ดอกใช้เป็นยาแก้ไอ (ดอก) ดอกใช้กินเป็นยาขับเสมหะ (ดอก) ที่มา :  https:

ต้นแสงเงินแสงทอง

รูปภาพ
ชื่อพื้นเมือง   แสงเงินแสงทอง ชื่อสามัญ      แก้วกาญจนา ชื่อวิทยาศาสตร์    Aglaonema ชื่อวงศ์          Chinese Ever ลักษณะทั่วไป     อโกลนีมาหรือต้นแสงเงินแสงทอง เป็นพรรณไม้มงคลที่ถูกปรับปรุงพันธุ์จากไม้ประดับใบสีเขียว จนกระทั่งวันนี้  มีความหลากหลายมากขึ้น  เช่น ใบมีสีแดง ชมพู สวยงามแตกต่างกัน เพราะความสวยงาม คงทน ดูแลรักษาง่าย จึงเหมาะอย่างยิ่งหากจะนำมาประดับภายใน   ต้นแสงเงินแสงทอง เป็นพืชที่ช่วยลดมลพิษภายในอาคาร คือ ช่วยดูดก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ อันเป็นสาเหตุของอาการที่เรียกกันว่า “แพ้ตึก” ได้ดี เป็นไม้มงคล สัญลักษณ์ความเจริญรุ่งเรืองด้วย การดูแลรักษา ต้นแสงเงินแสงทอง แสงเงินแสงทอง เป็นพันธุ์ไม้ในกลุ่มแก้วกาญจนาเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดรำไร ให้น้ำเพียงชุ่มชื้นแต่ไม่ถึงกับเปียกแฉะอย่างน้อยทุกๆ สองวัน ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ และควรให้ปุ๋ยอย่างน้อยเดือนละครั้ง ที่มา :  https://sites.google.com/site/wachiratham59602/home/9 https://www.facebook.com/thaiinbloom.com1/posts/568529633168774/

หงอนไก่

รูปภาพ
ชื่อสามัญ: Cockscomb, Chinese Wool Flowerชื่อวิทยาศาสตร์: Celosia argentea L. var. cristata (L.) Kuntze ชื่ออื่น: หงอนไก่ดง หงอนไก่ดอกกลม หงอนไก่ฟ้า (ภาคกลาง), ด้ายสร้อย สร้อยไก่ (เชียงใหม่), หงอนไก่ฝรั่ง (ภาคกลาง) วงศ์: AMARANTHACEAE ต้นหงอนไก่ไทย มีถิ่นกำเนิดจากอเมริกาเขตร้อน ภายหลังได้กระจายพันธุ์ปลูกไปทั่วโลก โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกฤดูเดียว มีอายุเพียง 1 ปี มีลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 40-150 เซนติเมตร มักแตกกิ่งก้านเป็นสีเขียวแกมแดง ลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำและมีร่องตามยาว เปลือกลำต้นมีทั้งสีแดงและสีเขียว แบ่งออกไปตามสายพันธุ์ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1.0-1.5 ม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามาก ผิวขรุขระ การดูแลรักษา การให้น้ำ  ควรรดน้ำทุกวันในตอนเช้าหรือเย็น หากรดน้ำในเวลาเย็นควรให้น้ำ ที่ค้างอยู่บนใบแห้งก่อนพระอาทิตย์ตกดิน   และเมื่อมีดอกบาน อย่ารดน้ำให้ถูกดอกเพราะอาจทำให้ดอกช้ำหรือเน่าได้  การให้น้ำควรให้สภาพดินชุ่มสลับแห้ง ไม่ควรให้ชุ่มตลอดเวลา เพราะอาจเป็นสาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า และทำให้ระบบรากไม่พัฒนา ส่งผลให้ต้นแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์  สามารถสังเกตสี

ว่านกาบหอย

รูปภาพ
ว่านกาบหอย ชื่อวิทยาศาสตร์ Tradescantia spathacea Sw. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Rhoeo discolor (L'Hér.) Hance, Rhoeo spathacea (Sw.) Stearn, Tradescantia discolor L'Hér., Tradescantia versicolor Salisb.) จัดอยู่ในวงศ์ผักปลาบ (COMMELINACEAE) ลักษณะของว่านกาบหอย ต้นว่านกาบหอย มีถิ่นกำเนิดในแถบเม็กซิโก คิวบา และอเมริกากลาง มีเขตการกระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่าง ๆ รวมทั้งทวีปเอเชียด้วย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มักขึ้นเป็นกอ ๆ ไม่มีการแตกกิ่งก้าน ลำต้นอวบใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตรขยายพันธุ์ด้วยไหลหรือยอด หรือปักชำในพื้นที่ปลูกในช่วงฤดูฝน หรือปักชำในถุงเพาะชำในโรงเรือนนอกฤดูฝน เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดส่องถึงครึ่งวัน สรรพคุณ :  ใบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด แก้ฟกช้ำภายใน แก้บิดถ่ายเป็นเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้กรดไหลย้อน  ดอก รสชุ่มชื่น ใช้ขับเสมหะ แก้ไอแห้งๆ แก้อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดา ห้ามเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ไอเป็นเลือดใช้ต้มกับเนื้อหมูกิน แก้บิดถ่ายเป็นเลือดใ

ต้นมะนาว

รูปภาพ
มะนาว ชื่อสามัญ Lime มะนาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantiifolia (Christm.) Swingle จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จัก และใช้ประโยชน์จากมะนาวมานาน น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลายประเภทแล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม น้ำมะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ เสียบไว้กับขอบแก้ว เพื่อใช้แต่งรส สรรพคุณของมะนาว ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน เป็นลมวิงเวียนศีรษะ เมาเหล้าได้ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงและต่ำ รู้หรือไม่ว่ามะนาวก็เป็นยาอายุวัฒนะและช่วยในการเจริญอาหารได้ด้วย แก้อาการวิงเวียนหลังคลอดบุตร แก้อาการลมเงียบ ด้วยการเอาใบมะนาวมาต้มกินกับยาหอม แก้โรคตาแดง ใช้เป็นยาแก้ไข้ก็ได้เหมือกัน ด้วยการนำใบมาหั่นเป็นฝอย ๆ แล้วนำมาชงในน้ำเดือด ดื่มเป็นน้ำชาหรือใช้อมกลั้วคอเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค ใช้ในการแก้ไข้ทับระดู ด้วยการเอาใบมะนาวประมาณ 100 ใบมาต้มกิน สามารถช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือเลือดออกตามไ

ต้นสับปะรดสี

รูปภาพ
ชื่อสามัญ :  Bromeliad ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Aechmea fasciata ชื่อพื้นเมือง :  สับปะรดสี (Urn Plant) ลักษณะทั่วไป สับปะรดสีเป็นพันธุ์ไม้ประดับที่มีใบเป็นกลีบแข็งๆ แผ่ออกไปรอบๆข้างบนใบมีลวดลายและสีสันที่สวยงามแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดพันธุ์ เป็นไม้ที่เจริญเติบโตช้า ดูแลง่าย สามารถทนแล้งได้ดี มีช่อดอกยาวสูง สีกลีบดอก กลีบเลี้ยง และใบที่ฉูดฉาดคงอยู่นานหลายสัปดาห์หรืออยู่ได้หลายเดือน และจะงอกต้นเล็กๆ ออกมารอบๆ ต้นสามารถตัดแยกไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้ สับปะรดสีสามารถทนทานอยู่ได้ทั้งในที่มีแสงมากและแสงน้อย แต่ถ้าได้รับแสงมากจะทาให้ใบมีสีสันสวยงามน่ามองยิ่งขึ้น   วิธีปลูกสับปะรดสี  สามารถทำได้ทั้งการเพาะเมล็ดและการแยกหน่อ โดยวิธีการเพาะเมล็ดควรปลูกในกระบะที่มีขุยมะพร้าว เนื่องจากสับปะรดสีไม่ชอบดิน แต่หากใครปลูกโดยการแยกหน่อ ขั้นตอนแรกให้แยกหน่อไว้ก่อน จากนั้นทาด้วยปูนแดงแล้วทิ้งไว้ให้แห้ง และเมื่อนำไปปลูกให้กดหน่อลงในกระถางที่มีกาบมะพร้าวสับเป็นท่อนๆ รองอยู่ แต่ระมัดระวังอย่ากดลงไปลึกมาก วิธีการดูแล 1.ควรจัดตั้งบริเวณที่โล่ง มีอากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก อุณหภูมิไม่เกิน 35 องศา 2.

ต้นโกสน

รูปภาพ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Codiaeum variegatium. Blume. ชื่อสามัญ : Croton สกุล : Euphorbiaceae  ลักษณะทั่วไปของโกสน โกสนเป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-5 เมตร ผิวลำต้นเรียบสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มตรงกลม ใบแตกออกจากต้นและปลายกิ่ง ลักษณะใบมีรูปร่าง สีสันและขนาดที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของพันธุ์ ดอกออกเป็นพวงห้อยลงมาด้านล่าง ซึ่งออกมาจากปลายกิ่งพวงหนึ่งยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวขนาดของดอกเล็กมาก ดอกมี 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่จะเห็นเกสรตัวผู้เป็นเส้นฝอย การบานของดอกเป็นรูปทรงกลม สรรพคุณทางยาของโกสน ใบแก่โกสนจะมีรสเฝื่อน โขลกพอกท้องเด็ก แก้โรคระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ โดยใช้ใบสด 10-15 ใบ นำมาโขลกให้ละเอียดอาจจะผสมเหล้าโรงเล็กน้อย แล้วใช้พอกและทาบริเวณท้องเด็ก นอกจากนี้ยอดอ่อนยังมีสรรพคุณแก้ร้อนในด้วย ที่มา :  https://sites.google.com/site/tnmimngkhl285/tn-kosn https://puechkaset.com/%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%99/

ฟ้าทะลายโจร

รูปภาพ
ฟ้าทะลายโจร  หนึ่งในสุดยอดสมุนไพร ที่เรานำมาทำเป็นยารักษาโรคในรูปแบบต่างๆ มานานนับร้อยปี บรรจุอยู่ในรูปแบบของแคปซูล, ยาเม็ด, ยาเม็ดลูกกลอนที่บรรจุผงฟ้าทะลายโจรอบแห้งปริมาณต่างๆ กัน จากรายงานผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่าสารสกัดจาก "ฟ้าทะลายโจร" มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย มีสารสำคัญที่มีฤทธิ์รักษาโรค โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ จนทำให้องค์การอนามัยโลก มีคำแนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรในการป้องกันและรักษาหวัด และได้รับการขนานนามว่าเป็นสมุนไพรต้านไวรัส ในภาษาจีนกลาง ยาตัวนี้มีชื่อว่า "ชวนซิเหลียน" แปลว่า "ดอกบัวอยู่ในหัวใจ" ซึ่ง มีความหมายสูงส่งมาก วงการแพทย์จีนได้ยกฟ้าทะลายโจรขึ้นทำเนียบ เป็นยาตำราหลวงที่มีสรรพคุณโดดเด่นมากตัวหนึ่ง ที่สำคัญคือสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวเพียงตัวเดียวก็มีฤทธิ์แรงพอที่จะรักษาโรค ได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในสมุนไพรตัวอื่น สุดยอดสรรพคุณ แก้ไข้ทั่วๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ระงับอาการอักเสบทั่วไป มีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ต่อต้

พญาสัตบรรณ(ตีนเป็ด)

รูปภาพ
พญาสัตบรรณ  ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (L.) R. Br. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE) ต้นพญาสัตบรรณ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ (เหมือนฉัตร) มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาล เมื่อกรีดจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย สรรพคุณ เปลือกต้นมีรสขม ใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น) เปลือกต้นสัตบรรณมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน (เปลือกต้น) น้ำยางจากต้นใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้ (ยาง) น้ำยางจากต้นใช้อุดฟันเพื่อแก้อาการปวดฟันได้ (ยาง) ใบอ่อนใช้ชงดื่ม ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิดได้ (ใบ) เปลือกต้นใช้แก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ (เปลือกต้น) ช่วยแก้ไข้ (เปลือกต้น,ใบ) ดอกช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน (ดอก) เปลือกต้นต้มน้ำด

ผักน้ำ

รูปภาพ
ผักน้ำ เป็นพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นที่นิยมปลูกกันมากในอำเภอเบตง จ.ยะลา เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิด ปลูกกันมากแถวประเทศฝรั่งเศสแล้วนำมาปลูกในประเทศจีนและประเทศมาเลเซีย แล้วคนจีนนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยทางภาคใต้ โดยเฉพาะที่อำเภอเบตง ซึ่งผักน้ำแรกๆปลูกบริโภคกันในครัวเรือนโดยเฉพาะหมู่คนจีนเท่านั้น  ไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป  เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ผักน้ำ มีลำต้นเลื้อยเป็นปล้อง อวบน้ำ ใบเล็กกลม รากติดดิน ชอบอากาศเย็น แสงแดดไม่จัด ปลูกในพื้นที่น้ำไหลผ่าน น้ำสะอาดไม่เป็นสนิม อุณหภูมิของน้ำ 20-25 องศาฯ ภายหลังการปลูก 3-4 เดือน ให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวครั้งแรก หลังจากนั้นราว 45-60 วัน เก็บเกี่ยวรอบต่อไป และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 5 รอบ/ปี หรือราว 2,500-3,000 กก./ไร่ ธรรมชาติของผักน้ำชอบอากาศหนาวเย็น และน้ำที่ใสสอาดยิ่งเป็นน้ำไหลจากซอกหินหรือภูเขาผ่านตลอดเวลา  การจัดการแปลงปลูกผักน้ำจะทำเป็นขั้นบันไดลดหลั่นกันลงมา   ที่สามารถกักเก็บน้ำ และปล่อยน้ำให้ไหลลงมาอีกชั้นได้  และถ้าเป็นน้ำที่ไหลจากที่สูงใสเย็น และเป็นดินปนทรายด้วยจะทำให้ผักน้ำเจริญเติบโตได้ดี และต้นจะอวบน้ำก้านยาว ใบสีเขียวจัด หลังจากปล

ต้นน้อยหน่า

รูปภาพ
น้อยหน่า เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนของทวีปอเมริกากลาง นำเข้ามาปลูกในประเทศแถบเอเชียครั้งแรกโดยชาวสเปน และชาวโปรตุเกส ส่วนในประเทศไทยมีการนำเข้าน้อยหน่าครั้งแรกในสมัยลพบุรี ปัจจุบันการ ปลูกน้อยหน่าในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน และมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคกลาง เรียก น้อยหน่า ภาคตะวันออก เรียก นอแฟ สาร alkaloid มีประโยชน์ในการรักษาโรคได้หลายอย่าง เช่น ใช้เป็นยาระงับปวดยาชา ใช้เป็นยาแก้ไอ ยาแก้หอบหืด ยารักษาแผลในกระเพาะ ยาลดความดัน ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ เป็นต้น ณรงค์ จึงสมานญาติ (2539) ศึกษาพบว่า เมล็ดน้อยหน่าที่บดเป็นผง แล้วแช่ด้วยน้ำผสมแอลกอฮอล์ 10% (แอลกอฮอล์ 95% 1 ขวด ผสมน้ำ 9 ขวด) ให้ท่วมผงเมล็ดน้อยหน่าเล็กน้อย โดยแช่ทิ้งไว้หนึ่งคืน แล้วกรองเอาส่วนน้ำสำหรับเป็นหัวเชื้อ ก่อนใช้จะผสมน้ำหรือแอลกฮอล์ 10 % ประมาณ 6 เท่า แล้วใช้ฆ่าเห็บด้วยการฉีดพ่นที่ตัวเห็บ ซึ่งพบว่าสามารถฆ่าได้ทั้งเห็บตัวอ่อน เห็บตัววัยรุ่น และเห็บตัวแก่ ปอง ทิพย์ และ ปิยธิดา (2540)ได้ทำการทดสอบฤทธิ์ในการฆ่าเหาของสารสกัดเมล็ดน้อยหน่า ที่สกัดด้วยปิโตรเลียมอีเธอร

ต้นไทรย้อย

รูปภาพ
ไทรย้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina L. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE) สมุนไพรไทรย้อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ไทรพัน (ลำปาง), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไฮ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ), จาเรย (เขมร), ไซรย้อย เป็นต้น ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ มีรสจืดและฝาด  ขยายพันธุ์ :  ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า ชอบดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นในระดับปานกลาง ไทรย้อยมีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในประเทศเขตร้อน พบได้ที่อินเดีย เนปาล ปากีสถาน จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตร

ต้นยี่โถ

รูปภาพ
วงศ์ : Apocynaceae ชื่อสามัญ : Oleander,Fragrant oleander,Sweet OleanderและRose Bay ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nerium oleander L ลักษณะของยี่โถ ยี่โถจะมีลักษณะเป็นไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกของลำต้นมีสีเทาเรียบ มียางสีขาวคล้ายน้ำนม ใบ  ยี่โถ เป็นใบเดี่ยว มีรูปร่างรี ปลายและโคนใบแหลมคล้ายหอก ขอบใบเรียบหนาแข็ง มีสีเขียวเข้ม ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ดอก  ยี่โถ ดอกมีสีชมพู ขาว มีทั้งดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว โดยดอกที่มีชั้นเดียวจะมีกลีบดอก 5 กลีบ เวลาดอกบานจะมีกลิ่นหอม ผล  ยี่โถ ผลเป็นรูปฝักยาว เมื่อแก่เปลือกแข็งจะแตกออก และมีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก จะมีขนคล้ายเส้นไหมติดอยู่ ต้นยี่โถนั้นสามารถออกดอกได้ทั้งปี และสามารถปลูกได้ทุกที่ ขึ้นได้ทุกสภาพดิน จะด้วยการเพาะเมล็ด การปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง ประโยชน์ยี่โถ 1. ยี่โถนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับดอกเป็นสำคัญ เนื่องจาก ต้นมีกิ่งน้อย แต่แตกดอกเป็นช่อจำนวนมาก แต่ละช่อมีดอกขนาดใหญ่ ดอกมีสีสดสวยงามหลายสี ทำให้เวลาออกดอกจะแลดูเด่น และสวยงามมาก นอกจากนั้น ยามดอกบานจะส่งกลิ่นหอมอ่อนรอบลำต้น 2. ดอกใช้ต้มย้อมผ้า ให้เนื้อผ้าสีแดงหรือชม

ต้นปรงญี่ปุ่น

รูปภาพ
ต้นปรงญี่ปุ่น ชื่อวิทยาศาสตร์:    Cycas revoluta Thunb. ชื่อสามัญ:    Sago Palm ชื่ออื่น:    ปรงญี่ปุ่น  สาคูปาล์ม วงศ์:    CYCADACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ต้น:   พืชจำพวกเมล็ดเปลือย ลำต้นตั้งตรง สีน้ำตาลเข้ม ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ผิวขรุขระจากรอยแผลใบ ใบ:   ใบประกอบแบบขนนก เป็นกระจุกแน่นที่ส่วนยอด ใบอ่อนหยิกและมีขนปกคลุม ใบย่อยมีจำนวนมาก รูปยาวแคบ ปลายเรียวแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบโค้งลงด้านล่าง ก้านใบแข็ง เป็นเหลี่ยมมีหนามแหลมสั้นๆ โคน:    แยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อโคนเพศผู้ เป็นช่อแน่น ทรงกระบอกแกมรี ส่วนโคนเพศเมีย ประกอบด้วยกาบเมกะสปอร์ซ้อนเรียงทับกัน กาบบนรูปไข่กลับ ขอบหยักลึก มีขนสีน้ำตาล ข้อมูลทั่วไป:   เป็นพันธุ์ไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิดในตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์:   การปลูกเลี้ยง:   ดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดจัด การขยายพันธุ์:   เพาะเมล็ด การใช้ประโยชน์:   ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกประดับสวนหย่อม

ต้นมอสส์

รูปภาพ
ต้นมอสส์ มอสส์ เป็นพืชขนาดเล็ก พุ่มสูงประมาณ 1–10 เซนติเมตร (0.4–4 นิ้ว) แต่อาจมีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก ปกติจะเจริญเติบโตในหมู่ต้นไม้หรือบริเวณที่เปียกชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ไม่มีดอกและเมล็ด โดยทั่วไปใบที่ปกคลุมลำต้นจะบางเล็กคล้ายลวด มอสส์แพร่พันธุ์ด้วยสปอร์ ซึ่งสร้างขึ้นที่จะงอยปลายก้านเล็ก ๆ คล้ายแคปซูล ถิ่นอาศัย: มอสส์ ส่วนมากพบในพื้นที่ชื้นและได้รับแสงน้อย โดยปกติจะพบในป่าและริมแหล่งน้ำลำธาร และสามารถพบได้ตามอิฐหินในถนนที่เปียกชื้นในเมือง บางชนิดเหมาะกับสภาวะอย่างกำแพงเฉพาะในเมือง อีก 2–3 ชนิดอยู่ในน้ำเช่น Fontinalis antipyretica และ Sphagnum ที่อาศัยอยู่ในโคลนตม หนองบึงและในทางน้ำที่ไหลช้า อย่างมอสส์น้ำหรือกึ่งน้ำสามารถยาวเกินกว่าความยาวปกติของมอสส์บก บางชนิดยาว 20–30 ซม. (8–12 นิ้ว) หรือยาวกว่าปกติใน Sphagnum มอสส์เป็นต้น

ต้นอากาเว

รูปภาพ
ต้นอากาเว อะกาเว เป็นสกุลของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์ย่อย Agavoideae วงศ์ Asparagaceae  แต่นักพฤกษศาสตร์บางกลุ่มแยกออกมาเป็นวงศ์ Agavaceae เป็นไม้อวบน้ำ ทรงพุ่มแผ่เป็นวงกว้าง สูงประมาณ 2 เมตร พุ่มกว้าง 0.3-1 เมตร ผิวสัมผัสหยาบ ใบจะมีสีเขียวอมเทา ขอบใบจะมีหนามแข็ง บางชนิดคล้ายหนวด เรียงตัวเหมือนกลีบกุหลาบ ดอกออกเป็นช่อสูงถึง 6 เมตร ดอกสีเหลือง ออกดอกครั้งเดียวแล้วจะตาย ในต่างประเทศ พืชในสกุลนี้ใช้ทำเครื่องดื่ม อาหารและเส้นใย ส่วนในประเทศไทย ใช้เป็นไม้ประดับ ดอก :    ใช้ผลิตนํ้าผึ้ง รู้จักกันในชื่อ นํ้าผึ้งดอกอะกาเว ใบ :    ใช้ทําเป็นเส้นใยนํามาเป็นเชือก มีความเเข็งเเรงสูง ลําต้น :    นํามาทําเป็นอาหาร เเต่เฉพาะสายพันธุ์ เเต่ต้องลอกเปลือกลําต้นเเละเอาเเค่เนื้อในที่เป็นสีขาว โดย วิธีการทําควรทําให้สุก เพื่อไม่ให้สารพิษตกค้าง เนื่องจากอะกาเวมีพิษ เมื่อโดนพิษจะทําให้ปวดท้อง อาเจียนหรือปวดหัว เครื่องดื่ม :   อะกาเวใช้ทําเครื่องดื่ม เรียกว่า เตกิลา (tequila) โดยชนิดสายพันธุ์ที่นํามาผลิต คือ blue agave ซึ่งพบเห็นได้ในเม็กซิโกเป็นส่วนใหญ่ โดยสำคัญต่อเศรษฐกิจขอ

ต้นเข็มขาว(เข็มพระราม)

รูปภาพ
ต้นเข็มขาว(เข็มพระราม) ชื่อวิทยาศาสตร์:   Ixora lucida R.Br. ex Hook.f. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ixora ebarbata Craib) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE) ชื่อท้องถิ่น:    เข็มพระราม (กรุงเทพฯ), เข็มปลายสาน (ปัตตานี), เข็มขาว (นครศรีธรรมราช), เข็มขาว (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), เข็มไม้ (ไทย) ลักษณะของเข็มขาว: ต้นเข็มขาว:    จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขึ้นเป็นพุ่มแน่น แตกกิ่งใกล้ผิวดินจำนวนมาก ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร เปลือกต้นเป็นสีดำ รากมีรสหวาน มีหูใบ 2 ข้าง น้ำยางใส ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนชุ่มชื้น มีแสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าราบหรือตามป่าเบญจพรรณ ใบเข็มขาว:   ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรีขอบขนาน ปลายใบมน แหลม หรือเรียวแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ผิวใบค่อนข้างหนา ดอกเข็มขาว:   ออกดอกรวมกันเป็นช่อแบบซี่ร่มขนาดใหญ่แน่นทึบ ก้านดอกยาวกว่าดอกเข็มชนิดอื่น ๆ ดอกย่อยเป็นรูปหลอดปลายแยกออกเป็นกลีบ 4-5 กลีบ ดอกเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม ผลเข็มขาว:    ล

กระดังงา

รูปภาพ
กระดังงา  ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Uvaria odorata Lam.) จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE) สมุนไพรกระดังงาไทย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่, สะบันงา สะบันงาต้น เป็นต้น ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ ต้นกระดังงา จัดเป็นไม้ยืนต้นและไม่ผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 15-20 เมตร  เรือนยอดเป็นทรงพุ่มแน่น แตกกิ่งก้านสาขามาก แผ่ออกจากต้นมักลู่ลง เปลือกต้นเป็นสีเทาเกลี้ยง พบรอยแผลใบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป ส่วนที่ยังอ่อนจะมีขนขึ้นปกคลุม สามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือตอนกิ่งออกดอกและผลได้ตลอดทั้งปี สรรพคุณของกระดังงา เปลือกต้นกระดังงา มีรสฝาดเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้อาการท้องเสีย ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เนื้อไม้กระดังงา มีรสขมเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ รากกระดังงา มีสรรพคุณเป็นยาคุมกำเนิด ใบกระดังงา ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้อาการคัน และใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ดอกกระดังงา มีรสหอมสุขุม มีสรรพคุณแก้ลมวิง

ต้นพัดโบก

รูปภาพ
ต้นพัดโบก ชื่อวิทยาศาสตร์:    Homalomena ‘Emerald Gem’ วงศ์:    Araceae ประเภท:   ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ความสูง:   30 – 35 เซนติเมตร ลำต้น:    ใต้ดินเป็นเหง้าเล็ก ๆ ใบ:    เดี่ยว เรียงเวียนรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม สีเขียว กาบใบสีเขียว ดอก:   ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอก สีเขียวอมน้ำตาลแดงเรื่อ ปลีดอกสีขาวนวล ดิน:    ดินร่วน น้ำ:   ปานกลาง แสงแดด:    รำไร ขยายพันธุ์:    แยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ:   ปลูกเป็นไม้คลุมดินใต้ร่มไม้ใหญ่ เป็นว่านทางเสน่ห์มหานิยมแก่ร้านค้า บ้านเรือน และช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ให้พันจากบ้าน ปัจจุบันมีไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่คล้ายกัน เรียกว่า พัดวี มีใบเรียวกว่า  

มะขามเทศ

รูปภาพ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pithecellabium dulce, Baneth. ชื่อสามัญ : Manila Tamarind,Madas Tamarind ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น มะขามเทศเป็นไม้เนื้อแข็ง มีอายุนานหลายปี ลำต้นสูงได้มากกว่า 10 เมตร ลำต้นค่อนข้างกลม เปลือกมีสีน้ำตาล ผิวเปลือกเป็นร่องเล็กขรุขระ ลำต้น และกิ่งมีหนามแหลม กิ่งแตกออกในระดับต่ำ แตกกิ่งมาก ใบ มีลักษณะรูปร่างกลมรี สีเขียว ใบมีขนาดเล็ก และบาง แทงออกบริเวณหนามบนกิ่ง แต่ละก้านใบหลักประกอบด้วยก้านใบย่อยอีก 2 อัน แต่ละก้านใบย่อยจะประกอบด้วยใบจำนวน 2 ใบ ดอก ดอกจะออกเป็นช่อแบบแพนิเคิล (Panicle) แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ขนาดเล็ก สีขาว มีฐานรองดอกสีเหลือง ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม ดอกจะทยอยบานเรื่อยๆ ฝัก ฝักจะเกิดเป็นช่อ 1-5 ฝัก/ช่อ ฝักมีลักษณะโค้งเป็นวงกลมหรือโค้งเป็นวง ฝักอ่อนมีลักษณะแบน มีสีเขียว ฝักแก่มีลักษณะนูนเป่ง และเป็นร่องตามตำแหน่งที่มีเมล็ด ฝักที่แก่จะเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีชมพู-แดง ฝักอ่อนจะเริ่มติดหลังดอกบานประมาณเดือนพฤศจิกายน และจะติดฝักเรื่อยๆจนถึงเดือนธันวาคม เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน และนูนตรงกลาง มีรูปทรงคล้ายหยดน้ำ ขนาดเมล็ดกว้าง หนาประมาณ

ต้นมะยงชิด

รูปภาพ
ต้นมะยงชิด ลักษณะโดยทั่วไปของมะปรางหรือมะยงชิด:  มะปราง เป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ มะปรางเป็นไม้ผลเมืองร้อนไม่มีการผลัดใบคือ จะมีใบสีเขียวตลอดทั้งปี มีชื่อสามัญว่า Marian plum ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boueaburmanica Griff. ตระกูลเดียวกันมะม่วง มะกอก คือ ตระกูล Amacardiaceae มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว และมาเลเซีย ส่วนต่างๆของมะปรางมีลักษณะดังนี้ ความแตกต่างของมะปรางหวานกับมะยงชิด: โดยทั่วไปแล้ว มะปรางกับมะยงชิด เป็นพื้ชในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากมีการปลูกโดยเมล็ดและมีการกลายพันธุ์ ทำให้มีลักษณะที่แสดงออกแตกต่างกันไป จึงทำให้มะปรางถูกเรียกแยกออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น มะปรางหวาน มะยงชิดมาก มะยงชิดน้อย มะปรางเปรี้ยว กาวาง ซึ่งจะเห็นว่า การแบ่งลักษณะมะปรางออกเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม โดยใช้ลักษณะรสชาดเป็นหลัก และขนาดผลร่วมด้วย ซึ่งลักษณะทรงพุ่ม ขนาดของใบ การเรียงตัวของใบ เส้นใบ สีของยอดอ่อน รสของยอดอ่อน ยังไม่มีใครศึกษาลักษณะเหล่านี้เพื่อคัดแยกกลุ่มของมะปราง และจากการแยกของเกษตรกร หรือนักวิชาการ บุคคลทั่วไป ก็ไ

พุทธรักษา

รูปภาพ
ชื่อวงศ์ : CANNACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canna indica L. ชื่อพ้อง : Canna orientalis Rocscoe. ชื่อสามัญ : Indian shot ชื่อพื้นเมืองอื่น : พุทธสร (ภาคเหนือ) ; ปล้ะยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ; พุทธรักษา (ภาคกลาง) ; บัวละวง (ลพบุรี) ถิ่นกำเนิด  อเมริกาเขตร้อน แอฟริกา และอินเดีย ขึ้นได้ทั่วไป ชอบที่ชื้นแฉะและกลางแจ้ง ในประเทศไทยเป็นไม้ที่ปลูกกันมากในทั่วทุกภาค สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือปักชำเหง้า ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม พุทธรักษา เป็นพันธุ์ไม้ที่มีชื่อนามเป็นมงคล แปลว่า พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครองให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น สรรพคุณทางยา “ใบ” เป็นยาช่วยแก้อาเจียน ช่วยแก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย “ดอก” เป็นยาช่วยสงบจิต ทำให้หัวใจสดชื่น ยาขับพิษร้อน ขับน้ำชื้นในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิต

ต้นลิ้นมังกร

รูปภาพ
ต้นลิ้นมังกร ลิ้นมังกร  เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยว สีเขียวเข้มแกมเทา อวบน้ำ ดอกช่อ สีขาวมีกลิ่นหอม เป็นพืชท้องถิ่นในแอฟริกาตะวันตกตั้งแต่ไนจีเรียถึงคองโก ใช้เป็นไม้ประดับ ใบใช้ตำละเอียด แก้พิษตะขาบ แมงป่อง  ชื่อวิทยาศาสตร์:  Sansevieria spp. ชื่อวงศ์:   Dracaenaceae ชื่อสามัญ:   Snake plant หรือ Mother-in-laws Tongue ชื่อพื้นเมือง:   ว่านหางเสือ, ว่านงาช้าง (หอกสุระกาฬ), คลีบปลาวาฬ, ลิ้นนาคราช ต้น:  เป็นหัวหรือเหง้าอยู่ในดิน ใบเกิดจากหัวโผล่ออกมาพ้นดินประกอบกันเป็นกอ ใบ:   เป็นแท่งกลมยาวหรือใบแบนกว้าง ปลายแหลม แข็ง หนาเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อยหรือเป็นเกลียว ใบมีความกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าตามแต่สายพันธุ์นั้น ๆ สีสันของใบลิ้นมังกรจะมีสีเขียวซีดจนถึงสีเขียวเข้ม บางสายพันธุ์ใบมีสีเขียวเข้มขอบใบมีสีเหลืองทอง หรือใบมีสีเหลืองและมีสีขาวเป็นเส้นตามแนวใบ สีขาวประ สีเขียวอมเหลือง เขียวอมด่าง สีฟ้า และลักษณะลวดลายบนใบที่มีความแตกต่างและสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ ละสายพันธุ์ ดอก:   ล

ต้นเทียนหยด

รูปภาพ
ต้นเทียนหยด ชื่อวิทยาศาสตร์:    Duranta erecta L. ชื่อวงศ์:    Verbenaceae ชื่อสามัญ:    Duranta, Golden dew drop, Sky flower, Pigeon berry ชื่อพื้นเมือง:   ฟองสมุทร, เครือออน, ช่อม่วง ชนิดพืช:   ไม้พุ่ม, ไม้ดอก, พืชสมุนไพร ขนาด:    สูง 2-3 เมตร สีดอก:    สีม่วง ม่วงเข้ม หรือขาว ฤดูดอกบาน:    ตลอดปี ลักษณะนิสัย:    ขึ้นได้ในดินทุกขนิด อัตราการเจริญเติบโต:   เร็ว ความชื้น:   ปานกลาง-ต่ำ แสง:   แดดเต็มวัน ลักษณะทั่วไป:   ไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นแตกกิ่งก้านจำนวนมาก กิ่งลู่ลง ทรงพุ่มแน่นทึบ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน ใบ:   ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน โคนใบสอบ ขอบจักฟันเลื่อย ก้านใบสั้น ดอก:    สีม่วง ม่วงเข้ม หรือขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็น หลอดปลายแยก 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ผล:    ผลสด ออกเป็นช่อห้อยลง รูปกลม ขนาด 0.5-0.8 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง ประโยชน์:   ใบตำพอกแก้ห้อเลือด ห้ามเลือด แก้อักเสบบวมเป็น

ต้นเงินไหลมา

รูปภาพ
ต้นเงินไหลมา ชื่อวิทยาศาสตร์:    Syngonium podophyllum Schott ชื่อวงศ์:  Araceae ชื่อสามัญ:    Arrow head plant,Syngonium ชนิดพืช:   ไม้เลื้อย, ไม้ประดับ ขนาด:    ขนาดกลาง สีดอก:    สีขาวนวล ลักษณะนิสัย:   ปลูกได้ในดินทั่วไป อัตราการเจริญเติบโต:    เร็ว ความชื้น:    สูง แสง:   ร่มรำไร ลักษณะทั่วไป:    ไม้เลื้อย เนื้ออ่อน อายุหลายปี ลำต้นอวบน้ำ เลื้อยพันด้วยรากพิเศษที่ออกทุก ข้อใบ ลำต้นสีเขียวอมเทา เมื่อแก่มีเนื้อไม้เจริญตามพื้นหรือขึ้นพันต้นไม้ใหญ่ มีหลายพันธุ์ ใบ:    ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบอ่อนรูปหัวลูกศรถึงรูปหัวใจ กว้าง 5-15 เซนติเมตร ยาว 8-25 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปเงี่ยงลูกศร ผิวใบด้านบนด่างสีเขียว-ขาวเป็นมัน บริเวณเส้นใบสีเขียวอ่อนเกือบ ขาว ก้านใบ ยาว 10-30 เซนติเมตร   ดอก:    สีขาวนวล ออกเป็นช่อเชิงลด มีกาบหุ้มช่อดอก ผล:   ผลสดมีเนื้อ มีหลายเมล็ด

พวงชมพู

รูปภาพ
พวงชมพู   ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antigonon leptopus Hook. & Arn. วงศ์ : Polygonaceae พวงชมพูเป็นไม้เลื้อยเถาอ่อน โดยทั่วไปมักเห็นดอกสีชมพูมากกว่าสีอื่น มีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก เป็นพืชรุกรานในฟลอริดา ใบเป็นรูปหัวใจหรือสามเหลี่ยม ดอกเป็นช่อรูปหัวใจ  สร้างหัวใต้ดินและมีไหลขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยพาดพันไปได้ไกล ลำต้นเล็ก สีเขียว มีมือสำหรับเกาะยึดเกี่ยวสิ่งอื่น ๆ เพื่อเป็นการพยุงตัว พวงชมพู เป็นพืชล้มลุก ชอบแดด การเลี้ยงดูและการขายพันธุ์ พวงชมพู ขยายพันธุ์ได้ทั้งวิธีเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่งและการปักชำกิ่ง ถ้าหมั่นให้น้ำให้ปุ๋ยเป็นประจำ สม่ำเสมอก็จะออกดอกได้ทั้งปี แต่จะดกมากในฤดูร้อน ถ้าขาดน้ำจะแห้งตาย แต่จะมีหัวพักฟื้นอยู่ใต้ดิน ซึ่งจะงอกเป็นพวงชมพูต้นใหม่ได้ในฤดูฝนหน้า พวงชมพู เป็นไม้กลางแจ้ง ออกดอกได้ตลอดปี ต้องการแสงแดดมาก ควรปลูกพวงชมพูในบริเวณที่มีแสงแดด ส่องได้ถึง หรือสามารถได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ พวงชมพูปลูกง่าย มีความแข็งแรงทนทานจนอาจถือเป็นวัชพืชได้ เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด ชอบขึ้นในที่ชื้นมากกว่าที่แห้งแล้ง ดินปลูกควรเป็นดินร่วนซุย มีการ

ต้นแพงพวยฝรั่ง

รูปภาพ
ต้นแพงพวยฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์:   Catharanthus roseus (L.) G. Don ชื่อวงศ์:   Apocynaceae ชื่อสามัญ:   Madagasgar periwinkle, Vinca,Old maid, Cayenne jasmine, Rose periwinkle ชื่อพื้นเมือง:   พังพวย, แพงพวย, ผักปอดบก, แพงพวยบก ชนิดพืช:   ไม้พุ่ม, ไม้ดอก, พืชสมุนไพร ขนาด:   สูง 30-60 เซนติเมตร สีดอก:   สีขาว ชมพูเข้ม ชมพูอ่อน ฤดูดอกบาน:  ตลอดปี ลักษณะนิสัย:   ดินปนทรายระบายน้ำ ได้ดี อัตราการเจริญเติบโต:   เร็ว ความชื้น:   ปานกลาง ทนแล้ง แสง:  แดดเต็มวัน-ทนแล้ง ลักษณะทั่วไป:   ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงหรือทอดเลื้อย ใบ:   ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปไข่กลับหรือรูปช้อนแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 4-5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่าง สีอ่อนกว่า ดอก:   สีขาว ชมพูเข้ม และชมพูอ่อน กลางดอกสีชมพูเช้มหรือสีแดง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ช่อละ 1-3 ดอก กลีบดอกรูปไข่กลับ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบมีติ่ง แหลม ดอกบานเต็มที่กว้าง 3-4 เซนติเมตร

ต้นกระดุมไม้ใบเงิน

รูปภาพ
ต้นกระดุมไม้ใบเงิน ชื่อวิทยาศาสตร์:   Conocarpus erectus var. sericeus E.Forst. ex DC. วงศ์: Combretaceae ประเภท: ไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้น:   สูง 2-4 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้มแตกเป็นร่อง แตกกิ่งก้านมาก กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนนุ่มสีเทาเงินอย่างหนาแน่น และเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อกิ่งแก่ ใบ:   ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับแน่นที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับถึงรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมเป็นติ่งหรือเว้าตื้นเล็กน้อย โคนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาสีเขียวเป็นมัน มีขนสีเทาเงินปกคลุมทั่วทั้งใบ ดอก:   ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ใบประดับรูปใบหอก กลีบเลี้ยงสีน้ำตาลแดงรูปสามเหลี่ยมจำนวน 5 กลีบ ดอกมีขนอ่อนปกคลุมอยู่ทั่ว อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี ทนแล้ง ทนดินเค็ม แสงแดด: แสงแดดจัด น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์:   ตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ:   ใบมีสีเหลือบเงินสวย เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง ไม้ประดับกลางแจ้ง เกร็ดน่ารู้:  มีถิ่นกำเนิดในอเมริกา บราซิล และเม็กซิโก

ต้นไทรประดับ

รูปภาพ
ต้นไทรประดับ ชื่อพฤกษาศาสตร์ :    Ficus annulata ชื่อวงศ์ :   MORACEAE ชื่อสามัญ:   Banyan Tree ชื่อไทยพื้นเมือง: ไทรประดับ ลักษณะ:   เป็นไม้ชื้นต้นมีความสูงประมาณ2-2.5เมตร มีใบตกและขนาดเล็ก มีลักษระเหมือนพีระมิด คือเป็นรูปทรงปริซึม ใบมีสีเขียวเข้ม สวยงาม ต้น:   เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร  ลำต้นครงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบ:   เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสรรแตกต่างกันตามพันธุ์ ฝัก/ผล:  แบบมะเดื่อ 1.8 - 3 ซม. ออกเป็นคู่ในซอกใบ รูปไข่ สีเหลืองอมส้มหรือเหลืองอมชมพู มักจะมีจุดสีครีม ก้านผล 1 - 1.5 ซม. อ้วนสั้น ด้านบนมีวงแหวนนูน ด้านล่างและกาบใบรูปสามเหลี่ยมแคบขนาด 4 - 7 มม. 3 กาบ ที่ยอดผล ประโยชน์:    - ใบใช้รักษาบาดแผลได้                      - น้ำเลี้ยงของกิ่งใช้รักษาโรคตับ                      - กิ่งและใบใช้เป็นยาแก้ปวดหัว

ต้นกระดุมทองเลื้อย

รูปภาพ
ต้นกระดุมทองเลื้อย ชื่อวิทยาศาสตร์:   Wedelia trilobata (L.) Hitchc. ชื่อวงศ์:   Compositae ชื่อสามัญ:   Climbing wedelia, Creeping daisy, Singapore daisy ชื่อพื้นเมือง:   เบญจมาศเครือ ชนิดพืช:   ไม้คลุมดิน, ไม้ดอก ขนาด:   สูง 30-50 เซนติเมตร สีดอก:   สีเหลือง ฤดูดอกบาน:   ตลอดปี ลักษณะนิสัย:   ขึ้นได้ในดินทั่วไป อัตราการเจริญเติบโต:   เร็ว ความชื้น:   ปานกลาง-สูง แสง:  แดดเต็มวัน-ร่มรำไร ลักษณะทั่วไป:  ไม้คลุมดิน ลำต้นแตกแขนงทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ปลายกิ่งมักชูตั้งขึ้น ลำต้นสีน้ำตาลแดงเรื่อ มีขนประปราย รากแตกตามช้อ ใบ:  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีกว้างหรือรูปไข่ กว้าง 2- 5 เซนติเมตร ยาว 5.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเล็กน้อย มีจักเป็นรูปสามเหลี่ยมกลางแผ่นใบทั้ง 2 ข้าง ก้านใบสั้นมาก ดอก:   สีเหลือง ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง มีใบประดับรูปรีเรียงซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ 4-5 ใบ ที่ขอบใบประดับมีขน ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมียมี 8-10 ดอก โคนกลีบดอกวงนอกเชื่อมติดกันเป็น หลอดสั้น ปลายกลีบแยกเป็น 3 แฉก ดอกวงในเ

ต้นปาล์มพัด

รูปภาพ
ปาล์มพัด ปาล์มพัด หรือ ปาล์มมงกุฎ เป็นปาล์มในสกุล Pritchardia มีถิ่นกำเนิดในฟีจี ตองงา และซามัว  ลำต้น:  เป็นปาล์มต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 เซนติเมตร  ใบ:  รูปพัด  ขอบใบจักเว้าตื้นและพับเป็นจีบ แผ่นใบขนาด 1 เมตร  ช่อดอกสมบูรณ์เพศ:  ยาว 30 เซนติเมตร ออกระหว่างกาบใบ  ผล:  กลมขนาด 1.2 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีน้ำตาลเข้ม  ปาล์มพัดนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ชาวพื้นเมืองฟีจีใช้ใบและลำต้นทำพัด ร่มและเสาเรือน

ต้นเฟิร์น

รูปภาพ
  ต้นเฟิร์น เฟิร์นจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับพืชมีเมล็ดในระยะสปอโรไฟต์อื่น โดยเฟิร์นจะประกอบไปด้วย: ลำต้น: โดยมากมักจะเป็นเหง้าอยู่ที่ใต้ดิน บางครั้งก็อาจจะเป็นไหลอยู่เหนือดิน หรือลำต้นตั้งตรงเนื้อคล้ายไม้เหนือดิน ซึ่งอาจสูงได้ถึง 20 เมตรในบางชนิด บนเกาะนอร์ฟอล์ก และ Cyathea medullaris ในประเทศนิวซีแลนด์ ใบ: ส่วนสีเขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ใบเฟิร์นมักถูกเรียกว่าฟรอนด์  เป็นเพราะในอดีตผู้ที่ทำการศึกษาแบ่งเป็นผู้ที่ศึกษาในเฟิร์นกับผู้ที่ศึกษาในพืชมีเมล็ด มากกว่าที่จะมาศึกษาถึงความแตกต่างทางโครงสร้าง ใบใหม่จะแผ่จากใบที่ขมวดเกลียวแน่นหรือที่เรียกว่า crozier หรือ fiddlehead การคลี่ออกของใบเป็นแบบม้วนเข้าด้านในแบบลานนาฬิกา ราก: ส่วนที่อยู่ใต้ดินทำที่ไม่ใช่ส่วนที่มีกระบวนการการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำหน้าที่ในการนำน้ำ และสารอาหาร ขิ้นมาจากดิน

ต้นไมยราบ

รูปภาพ
ต้นไมยราบ ใบของต้นไมยราบเป็นใบประกอบคู่ โดยมีใบประกอบอยู่ที่หนึ่งถึงสองชุด แต่ละชุดประกอบด้วยใบเดี่ยวประมาณ 10–26 ใบ ก้านใบสามารถมีหนามขึ้นอยู่ได้เช่นเดียวกับลำต้น ไมยราบมีดอกเป็นดอกกลุ่มลักษณะเป็นช่อสีชมพูอ่อน หรือม่วงบนก้านช่อดอกที่งอกออกมาจากข้อระหว่างลำต้นและก้านใบในช่วงกลางฤดูร้อน จำนวนดอกจะขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืช โดยที่ต้นแก่จะมีดอกมากกว่าต้นที่มีอายุน้อยกว่า ช่อดอกมีลักษณะกลมถึงวงรี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 8–10 มม. กลีบดอกจริงมีสีแดง และก้านดอกจริงมีสีชมพูถึงม่วง เมื่อมองใกล้ ๆ ดอกอาศัยลมและแมลงในการผสมเกสร มีผลเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยฝักเมล็ด 2–8 ฝัก แต่ละฝักยาว 1–2 ซม. มีเส้นใยงอกมาจากขอบฝักเป็นฝอย ๆ เมื่อถึงเวลาที่สมควร ฝักเมล็ดจะแยกออกเป็น 2–5 ส่วนซึ่งมีเมล็ดสีน้ำตาล บางเมล็ดยาว 2.5 มม. เมล็ดมีเปลือกหุ้มช่วยควบคุมการงอกเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม

ต้นว่านสี่ทิศ

รูปภาพ
ต้นว่านสี่ทิศ หัวใต้ดินมีลักษณะคล้ายกับหอมหัวใหญ่ เกิดจากกาบใบหุ้มที่ซ้อนอัดกันจนแน่น ส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินจะเป็นส่วนของแผ่นใบ       ใบ ใบเดี่ยว รูปขอบขนานยาวเรียว กว้าง 3-5 ซม. ยาว 25–30 ซม. ปลายมน ขอบใบเรียบ ใบสีเขียว ก้านดอกจะแทงสูงขึ้นจากกอ มีความสูง 25-30 ซม .                        ดอก ดอกช่อแบบซี่ร่มออกที่ซอกใบ ก้านช่อดอกยาว 30-40 ซม. มี 4-8 ดอก สีชมพู ขาว หรือแดง กลีบรวมมี 6 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 6-8 ซม . หันไปทั้ง 4 ทิศ

ต้นปีบ

รูปภาพ
ต้นปีบ ปีบเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางและมีถึงขนาดใหญ่มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะย้อยลง เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบ ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงเวียน ช่อแขนงด้านข้างมี 3-5 คู่ ปลายคี่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยแขนงละ 2-4 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักมนหรือเว้าเมีลักษณะป็นคลื่นเล็กน้อย

ต้นกล้วย

รูปภาพ
ต้นกล้วย กล้วย เป็นพรรณไม้ที่ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ได้ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อที่ซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย

ต้นชะพลู

รูปภาพ
ต้นชะพลู  ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู แต่มีขนาดใบเล็กกว่า มีสีเขียวที่เข้มเป็นใบเดี่ยว และมีรสชาติที่เผ็ดอ่อน ๆ ดอกของมันจะออกบริเวณปลายยอด มีสีขาวอัดแน่นกันเป็นทรงกระบอกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดีปลีแต่สั้นกว่าชะพลูพบในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และตอนใต้ของจีน และไกลถึงหมู่เกาะอันดามัน

ต้นตะไคร้

รูปภาพ
  ต้นตะไคร้ เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ง่าย อาจจะมีทรงพุ่มที่สูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป